สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้

ชื่อพรรณไม้

ขนุน มะหนุน หมักหมี้ หมากลาง ขะนู ขะเนอซีคืย นะยวยชะ นากอเนน ปะหน่อย มะหนุนล้าง

รหัสพรรณไม้

7-50100-001-040



บริเวณที่พบ : หน้าอาคารวัฒนา
ลักษณะพิเศษของพืช : แต่งเป็นรูปทรงได้
ลักษณะทั่วไป
ต้น : เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นมีความสูงประมาณ 8 – 15 เมตร มียางขาวทั้งต้น
ใบ : จะออกสลับกันและมีลักษณะกลมรี ยาวประมาณ 1 – 1.5เซนติเมตรตรงปลายใบ ของมันจะแหลมและสั้น ฐานใบจะเรียว หลังใบจะเรียบเป็นมัน เนื้อใบเหนียวคล้ายหนัง
ดอก : จะออกเป็นช่อและช่อตัวเมียจะอยู่บนต้นเดียวกันส่วนดอกตัวผู้จะออกที่ปลายกิ่งหรือง่ามใบเป็นแท่ง ยาวประมาณ 2 – 5 เซนติเมตรและมีกาบหุ้มช่อดอกอยู่ 2 กลีบ
ผล : เป็นผลรวม มีลักษณะกลมยาวประมาณ 2.5 – 60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่อาจมีน้ำหนัก ถึง 20 กิโลกรัม ส่วนเนื้อหุ้มเมล็ดจะมีสีเหลืองถ้าสุกจะมีกลิ่นหอม
เมล็ด : มีหลายเมล็ดในผลรวม มีลักษณะกลมยาวประมาณ 2 – 5 เซนติเมตร
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ดจะพบปลูกตามสวนหรือบริเวณบ้าน
ประโยชน์ : เมล็ดต้มสุกกินช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอดแกนและรากแห้งนำมาต้มน้ำรับประทานรักษากามโรค และบำรุงเลือด
ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย : ชาวบ้านมักมีความเชื่อว่าการปลูกต้นขนุนไว้บริเวณหน้าบ้าน จะมีคนมาอุดหนุนจุนเจือ



พิกัด : 


โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ เลขที่ 22 ถนนบุญเรืองฤทธิ์ ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100
Copyright © 2020 by Wattanothaipayap School. All Rights Reserved.